ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โอดะ โนบุนากะ

โอดะ โนบุนางะ (ญี่ปุ่น: ?? ?? โรมาจิ: Oda Nobunaga, 23 มิถุนายน ค.ศ. 1534 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1582) เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงกุ

ยุคเซ็งโงกุเป็นยุคแห่งสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างไดเมียวกลุ่มต่างๆ เนื่องเพราะอำนาจการปกครองจากส่วนกลางของโชกุนเสื่อมถอยลง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เกิดสงครามกลางเมืองที่นองเลือดสุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซึ่งได้บังเกิด 3 จอมคนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีความมุ่งหวังและดำเนินการรวบรวมแผ่นดินญี่ปุ่นในกลียุคให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง โดยบุรุษคนแรกที่เป็นผู้จุดประกายเริ่มต้นตำนานอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นคือ โอะดะ โนะบุนะงะ

โอดะ โนบุนางะ เกิดเมื่อค.ศ. 1534 ที่ปราสาทนะโงยะ มีชื่อว่า คิปโปชิ (???) เป็นบุตรชายคนที่สองของ โอดะ โนบุฮิเดะ (????) ไดเมียวแห่งแคว้นโอะวะริ (??) จังหวัดไอจิในปัจจุบัน เป็นบุตรคนโตสุดที่เกิดกับภรรยาเอกของโนะบุฮิเดะ คือ นางโดะตะ-โงเซ็ง (????)

ในฐานะที่เป็นบุตรคนโตสุดที่เกิดกับภรรยาเอก ทำให้คิปโปชิเป็นอันดับหนึ่งในการสืบทอดแคว้นโอะวะริต่อจากโนะบุฮิเดะบิดาของตน ซึ่งได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาคนสนิทของตนคือ ฮิระเตะ มะซะฮิเดะ (????) เป็นอาจารย์คอยฝึกวิชาความรู้ให้แก่คิปโปชิ แต่ว่าคิปโปชิกลับมีพฤติกรรมที่ประหลาด เอาแต่ใจตนเอง และไม่อยู่ในกรอบประเพณี ทำให้เป็นที่ไม่พอใจของบรรดาซะมุไรหรือข้ารับใช้ของตระกูลโอะดะ รวมทั้งมารดาของคิปโปชิเอง จนทำให้คิปโปชิมีชื่อกระฉ่อนไปทั่วภูมิภาคคันไซว่า "เจ้าโง่แห่งแคว้นโอะวะริ" (???????) แต่ด้วยการสนับสนุนของบิดาและมะซะฮิเดะผู้เป็นอาจารย์ ทำให้คิปโปชิยังคงสถานะเป็นทายาทของตระกูลโอะดะอยู่ได้

ในเวลานั้นตระกูลโอะดะต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากแคว้นข้างเคียงที่ทรงกำลังอำนาจ อันได้แก่ ตระกูลอิมะงะวะ ผู้ปกครองสามแคว้นทางตะวันออกของโอะวะริ (ในบริเวณจังหวัดชิซุโอะกะในปัจจุบัน) และตระกูลไซโต (??) ผู้ปกครองแคว้นมิโนะ (?? จังหวัดกิฟุในปัจจุบัน) ทางตอนเหนือ ในค.ศ. 1546 เมื่ออายุสิบสองปี คิปโปะชิผ่านพิธีเง็มปุกุได้รับชื่อว่า โอะดะ โนะบุนะงะ โนะบุฮิเดะบิดาร่วมกับมะซะฮิเดะผูกสัมพันธ์กับตระกูลไซโตแห่งแคว้นมิโนะ โดยส่งมะซะฮิเดะเดินทางไปสู่ขอนางโน-ฮิเมะ (??) บุตรสาวของไซโต โดซัง (????) ไดเมียวผู้ปกครองแคว้นมิโนะ มาเป็นภรรยาของโนะบุนะงะ

นอกจากนี้โนะบุนะงะยังได้มีโอกาสได้สัมผัสกับอาวุธชนิดใหม่ในขณะนั้น คือ ปืน ซึ่งผลิตและนำเข้าโดยชาวโปรตุเกสที่เกาะทะเนะงะชิมะ ทางตอนใต้ของเกาะคีวชู

ในค.ศ. 1551 โนะบุฮิเดะผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม โนะบุนะงะได้อาละวาดกลางงานศพของบิดาของตน ทำให้บรรดาข้ารับใช้ของตระกูลโอะดะไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง และทำให้มะซะฮิเดะรู้สึกผิดอย่างมากที่ทำการสั่งสอนโนะบุนะงะไม่ดีพอ จึงกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตเพื่อชดใช้ความผิด เหตุการณ์นี้ทำให้โนะบุนะงะเสียใจอย่างมาก เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งไดเมียวแห่งโอะวะริ โนะบุนะงะยังคงอ่อนด้อยประสบการณ์ ทำให้การปกครองของแคว้นตกอยู่ในมือของโอะดะ โนะบุโตะโมะ (????) ผู้ซึ่งมาจากสาขาย่อยของตระกูลโอะดะและเป็นผู้ปกครองปราสาทคิโยะซุ (???) ในค.ศ. 1554 ชิบะ โยะชิมุเนะ (????) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นชูโงแห่งแคว้นโอะวะริ (ได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐบาลโชกุนมุโระมะชิ) ทราบว่าโนะบุโตะโมะวางแผนลอบสังหารโนะบุนะงะ จึงนำความมาบอกแก่โนะบุนะงะ เมื่อโนะบุโตะโมะทราบว่าแผนของตนรั่วไหลจึงสังหารโยะชิมุเนะไป แต่ในปีต่อมาค.ศ. 1555 โนะบุนะงะได้ชิงลงมือทำการลอบสังหารโนะบุโตะโมะเสียก่อนที่ปราสาทคิโยะซุ

ปีต่อมาค.ศ. 1556 ไซโต โยะชิตะซึ (????) ทำการก่อกบฏต่อบิดาของตนคือไซโตโดซัง ไซโตโดซังขอให้โนะบุนะงะผู้เป็นลูกเขยยกทัพเข้าไปยังแคว้นมิโนะเพื่อช่วยเหลือตนแต่ไม่ทันการ โดซังถูกสังหารในที่รบและโยะชิตะซึจึงขึ้นเป็นไดเมียวแห่งมิโนะคนใหม่ ในปีเดียวกันนั้นเองน้องชายของโนะบุนะงะคือ โอะดะ โนะบุยุกิ (????) ก่อกบฏหมายจะขึ้นเป็นผู้นำตระกูลโอะดะด้วยการสนับสนุนของชิบะตะ คะซึอิเอะ (????) ฮะยะชิ ฮิเดะซะดะ (???) รวมทั้งมารดาของโนะบุนะงะเอง โนะบุนะงะสามารถเอาชนะทัพของน้องชายตนเองได้ในยุทธการอิโน (?????) โนะบุนะงะไว้ชีวิตขุนพลทั้งสองแต่ต้องการที่จะสังหารโนะบุยุกิน้องชาย แต่ด้วยการร้องขอของมารดาโนะบุนะงะจึงได้ไว้ชีวิตโนะบุยุกิ ปรากฏว่าในปีต่อมาค.ศ. 1557 โนะบุยุกิวางแผนยึดอำนาจอีกครั้ง โนะบุนะงะจึงแสร้งป่วยเพื่อให้โนะบุยุกิมาเยี่ยมตนที่ปราสาทคิโยะซุ จากนั้นจึงได้สังหารโนะบุยุกิทิ้ง

ในค.ศ. 1561 อิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ (????) ไดเมียวผู้ทะเยอทะยานแห่งตระกูลอิมะงะวะซึ่งปกครองดินแดนทางตะวันออกของโอะวะริ ต้องการที่จะยกทัพไปยึดอำนาจยังเมืองเกียวโต ซึ่งเส้นทางเดินทัพจะต้องผ่านแคว้นโอะวะริ ขุนพลคนสำคัญทั้งหลายแห่งตระกูลโอะดะต่างมีความเห็นว่าตระกูลอิมะงะวะมีกำลังอำนาจควรจะปล่อยให้เดินทัพผ่านโอะวะริไปโดยสวัสดิภาพ แต่โนะบุนะงะยืนกรานที่จะเข้าขัดขวางทัพของโยะชิโมะโตะ โดยทัพของโยชิโมโตะมีทหารกว่า 40,000 คน ขณะที่ทัพของโนบุนางะมีทหารเพียง 5,000 คน แต่โนบุนางะจึงคิดว่าถ้าจะสู้ให้ชนะก็ต้องจัดการกับตัวบงการก็คือทัพที่โยะชิโมะโตะอยู่นั่นเอง และในวันนั้นเองนับว่าโชคดีเป็นอย่างมากที่ฝนตก เพราะง่ายควบคุมคนจำนวนน้อยและยากควบคุมทัพขนาดใหญ่ ในระหว่างที่ทัพของโยะชิโมะโตะกำลังพักอยู่นั้นโนบุนางะใช้ทหารจำนวนกว่า 2,000 คนเท่านั้นบุกโจมตีทัพหลักอย่างไม่ทันตั้งตัว ในยุทธการโอะเกะฮะซะมะ (??????) เป็นเหตุให้โยะชิโมะโตะถูกสังหาร เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้โนะบุนะงะมีชื่อเสียงไปทั่วญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นเพียงแค่ไดเมียวของแคว้นเล็กแต่สามารถยับยั้งการยึดอำนาจของไดเมียวผู้ทรงอำนาจอย่างอิมะงะวะ โยะชิโมะโตะได้

ปีต่อมาค.ศ. 1561 ไซโต โยะชิตะซึ ไดเมียวแห่งมิโนะถึงแก่กรรม ไซโต ทะซึโอะกิ (????) ผู้เป็นบุตรชายอายุเพียงสิบสี่ปีและไร้ความสามารถขึ้นเป็นไดเมียวแห่งมิโนะคนต่อมา โนะบุนะงะเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพเข้ารุกรานแคว้นมิโนะ จนสามารถเข้ายึดปราสาทอินะบะยะมะ (???) อันเป็นที่มั่นของตระกูลไซโตได้ในค.ศ. 1567 ทำให้โนะบุนะงะสามารถเข้าครอบครองแคว้นมิโนะได้ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อปราสาทใหม่เป็น ปราสาทกิฟุ (??) จังหวัดกิฟุในปัจจุบัน โนะบุนะงะพำนักที่ปราสาทกิฟุ และประกาศนโยบายรวบรวมญี่ปุ่นที่แตกแยกออกเป็นแคว้นต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของตน พร้อมคติพจน์ที่ว่า เท็งกะ ฟุบุ (????) แปลว่า ปกครองแผ่นดินด้วยการทหาร

กล่าวถึงเหตุการณ์ในเมืองเกียวโต รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตระกูลมิโยะชิ ค.ศ. 1565 โชกุนอะชิกะงะ โยะชิเตะรุ (????) ได้ถูกสองขุนพลได้แก่ มะซึนะงะ ฮิซะฮิเดะ (????) และมิโยะชิ โยะชิซึงุ (????) ยกทัพมาสังหารยังที่พัก โนะบุนะงะพำนักอยู่ที่ปราสาทกิฟุได้หนึ่งปี จนกระทั่งในค.ศ. 1568 อะชิกะงะ โยะชิอะกิ (????) ผู้เป็นน้องชายของโชกุนโยะชิเตะรุได้ร้องขอให้โนะบุนะงะยกทัพไปยังเกียวโตเพื่อทำการแก้แค้นให้แก่พี่ชายของตนโดยสังหารขุนพลทั้งสอง

โนะบุนะงะจึงเตรียมการยกทัพไปยึดเมืองเกียวโต แต่เส้นทางเดินทัพไปยังเกียวโตต้องผ่านแคว้นโอมิ (??) จังหวัดชิงะในปัจจุบัน ซึ่งมีไดเมียวตระกูลรกกะกุ (??) ปกครองอยู่และปฏิเสธที่จะให้ทัพของโนะบุนะงะผ่านแคว้นของตน โนะบุนะงะจึงทำสงครามกับตระกูลรกกะกุและสามารถเอาชนะและกำจัดตระกูลรกกะกุออกไปได้ในเวลาอันรวดเร็ว และเดินทัพสามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ในฤดูหนาวค.ศ. 1568 ฮิซะฮิเดะและตระกูลมิโยะชิเข้าสวามิภักดิ์ต่อโนะบุนะงะ โนะบุนะงะจึงตั้งให้โยะชิอะกิเป็นโชกุนคนใหม่เพื่อเป็นหุ่นเชิดของตน จากความดีความชอบในการช่วยเหลือโชกุนโยะชิอะกิในครั้งนี้โนะบุนะงะได้รับข้อเสนอเป็นตำแหน่งในราชสำนักเกียวโตและในบะกุฟุซึ่งโนะบุนะงะปฏิเสธไปทั้งหมด และมีความเห็นว่าการเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังที่แท้จริงนั้นสำคัญกว่าตำแหน่งทางพิธีการ

แต่ทว่าโชกุนโยะชิอะกิไม่พอใจการที่ตนตกอยู่ภายใต้อำนาจของโนะบุนะงะ และต้องการที่จะมีอำนาจเต็มในการปกครอง จึงได้ร้องขอไปยังอะซะกุระ โยะชิกะเงะ (????) ไดเมียวแห่งแคว้นเอะจิเซง (จังหวัดฟุกุอิในปัจจุบัน) ให้ยกทัพมาขับไล่โนะบุนะงะออกจากเกียวโตและคืนอำนาจให้แก่โชกุน ความทราบถึงโนะบุนะงะ จึงส่งฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ต่อมาคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) นำทัพเข้าบุกแคว้นเอะจิเซงและเอาชนะตระกูลอะซะกุระได้ในยุทธการคะเนะงะซะกิ (??????) ค.ศ. 1570

กล่าวถึงตระกูลอะซะกุระ มีพันธมิตรสำคัญเป็นตระกูลอะซะอิแห่งแคว้นโอมิ ซึ่งขณะนั้นมีผู้นำคือไดเมียวอะซะอิ นะงะมะซะ (????) ผู้เป็นน้องเขยของโนะบุนะงะเนื่องจากนะงะมะซะได้สมรสกับนางโออิจิ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: ?ichi) ผู้เป็นน้องสาวของโนะบุนะงะ โนะบุนะงะคาดหวังว่านะงะมะซะจะเห็นแก่นางโออิจิไม่มาทำสงครามกับตน แต่นะงะมะซะเห็นแก่พันธมิตรกับตระกูลอะซะกุระจึงเข้าช่วยตระกูลอะซะกุระในการสงครามกับโนะบุนะงะ โนะบุนะงะสามารถเอาชนะทัพของทั้งสองตระกูลได้ในยุทธการอะเนะงะวะ (?????) อีกสามปีต่อมา ค.ศ. 1573 โนะบุนะงะนำทัพเข้าล้อมปราสาทฮิกิดะ (???) ของโยะชิกะเงะ และปราสาทโอะดะนิ (ญี่ปุ่น: ??? โรมาจิ: Odani-j?) ของนะงะมะซะ และโนะบุนะงะสามารถเข้ายึดปราสาททั้งสองได้ในที่สุด โยะชิกะเงะหลบหนีไปยังปราสาทอิชิโจดะนิ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Ichij?dani-j?) ส่วนนะงะมะซะกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต โนะบุนะงะยกทัพตามไปปิดล้อมปราสาทอิชิโจดะนิ จนกระทั่งเข้ายึดปราสาทได้ และโยะชิกะเงะกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปเช่นเดียวกับนะงะมะซะ

นอกจากนี้ โนะบุนะงะยังทำการปราบปรามกบฏอิกโก อิกกิ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Ikk?-ikki) อันเป็นการรวมตัวกันของพระสงฆ์และชาวบ้านท้องถิ่นเพื่อต่อต้านการปกครองของชนชั้นซะมุไร มีฐานที่มั่นอยู่ที่วัดฮงงัง (ญี่ปุ่น: ??? โรมาจิ: Hongan-ji) บนเขาอิชิยะมะ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: Ishiyama) เมืองโอซะกะในปัจจุบัน ในค.ศ. 1570 โนะบุนะงะยกทัพเข้าทำการปิดล้อมเขาอิชิยะมะแต่ถูกทัพของอิกโก-อิกกิขับไล่ออกไปได้ ปีต่อมาค.ศ. 1571 โนะบุนะงะยกทัพเข้าโจมตีเมืองนะงะชิมะ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: Nagashima) จังหวัดมิเอะในปัจจุบัน อันเป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของอิกโก-อิกกิ หลังการโจมตีหลายครั้งในที่สุดเมืองนะงะชิมะก็เสียให้แก่โนะบุนะงะในค.ศ. 1574 ในค.ศ. 1576 โนะบุนะงะยกทัพเข้าทำการปิดล้อมเขาอิชิยะมะอีกครั้ง จนกระทั่งโนะบุนะงะสามารถเข้ายึดวัดฮงงังบนเขาอิชิยะมะได้ในค.ศ. 1580 หลังจากการปิดล้อมอยู่นานถึงสี่ปี เป็นการปิดล้อมครั้งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น กบฏอิกโก-อิกกิจึงถูกปราบลงได้สำเร็จ

รวมทั้งโนะบุนะงะยังได้ทำการปราบโซเฮ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: S?hei) หรือพระนักรบ อันเป็นกองกำลังทหารที่สำคัญในภูมิภาคคันไซมาแต่ยุคเฮอัง มีฐานที่มั่นที่วัดเองยะกุ (ญี่ปุ่น: ??? โรมาจิ: Enryaku-ji) บนเขาฮิเอะอิ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: Hiei) จังหวัดชิงะในปัจจุบัน เนื่องจากโซเฮได้ให้หารสนับสนุนแก่ตระกูลอะซะกุระและตจระกูลอะซะอิในการต่อต้านโนะบุนะงะ ในค.ศ. 1571 โนะบุนะงะเข้ายึดเขาฮิเอะอิ ทำการกวาดล้างพระนักรบไปจนหมดสิ้น และในค.ศ. 1573 โนะบุนะงะทำการปลดโชกุนอะชิกะงะ โยะชิอะกิ ออกจากตำแหน่ง ล้มเลิกระบอบการปกครองของโชกุน เป็นการสิ้นสุดรัฐบาลโชกุนมุโระมะชิที่มีมายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี

หลังจากที่โนะบุนะงะวางรากฐานอำนาจในเมืองเกียวโตภูมิภาคคันไซได้อย่างมั่นคงแล้ว จึงหันความสนใจไปทางตะวันออก ในขณะนั้นภาคตะวันออกของญี่ปุ่นมีไดเมียวผู้ทรงอำนาจสองคนกำลังแย่งชิงความเป็นใหญ่ได้แก่ ทะเกะดะ ชิงเง็น (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Takeda Shingen) ไดเมียวแห่งแคว้นคะอิ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: Kai) จังหวัดยะมะนะชิในปัจจุบัน และอุเอะซุงิ เค็งชิง (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Uesugi Kenshin) ไดเมียวแห่งแคว้นเอะจิโงะ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: Echigo) จังหวัดนิอิงะตะในปัจจุบัน ในค.ศ. 1572 โชกุนโยะชิอะกิได้ร้องขอให้ทะเกะดะชิงเง็นช่วยปราบโนะบุนะงะ ชิงเง็นจึงยกทัพเข้ารุกรานแคว้นโทะโตะมิ อันเป็นดินแดนของโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โนะบุนะงะจึงส่งอิเอะยะซุไปทำการปราบทะเกะดะชิงเง็๋น ปรากฏว่าประสบกับความพ่ายแพ้ราบคาบต่อตระกูลทะเกะดะในยุทธการมิกะตะงะฮะระ (ญี่ปุ่น: ??????? โรมาจิ: Mikatagahara-no-tatakai) แต่โชคก็เข้าข้างโนะบุนะงะเมื่อชิงเง็นได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันในปีต่อมาค.ศ. 1573 ทะเกะดะ คะซึโยะริ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Takeda Katsuyori) ไดเมียวแห่งคะอิคนใหม่ยังอายุน้อยขาดประสบการณ์ ได้ยกทัพตระกูลทะเกะดะเข้าปิดล้อมปราสาทนะงะชิโนะ (ญี่ปุ่น: ??? โรมาจิ: Nagashino-j?) ของตระกูลโทะกุงะวะในค.ศ. 1575 แต่พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงในยุทธการนะงะชิโนะ

เมื่อโนะบุนะงะประสบความสำเร็จในภูมิภาคตะวันออก ทำให้ไดเมียวอุเอะซุงิ เค็งชิง เกรงว่าโนะบุนะงะจะแผ่ขยายอำนาจเข้าครอบงำภาคตะวันออกได้สำเร็จ จึงเข้าร่วมกับตระกูลทะเกะดะต่อต้านการขยายดินแดนของโนะบุนะงะ ด้วยการรุกรานแค้วนโนะโตะ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: Noto จังหวัดอิชิกะวะในปัจจุบัน) โนะบุนะงะส่งขุนพลระดับสูงเข้าต้านทานในยุทธการเทะโดะริกะวะ (ญี่ปุ่น: ?????? โรมาจิ: Tedorigawa-no-tatakai) ในค.ศ. 1577 ผลปรากฏว่าฝ่ายของโนะบุนะงะพ่ายแพ้ ตระกูลอุเอะซุงิเข้ายึดแคว้นโนะโตะได้ แต่ทว่าไดเมียวอุเอะซุงิเค็งชินได้ถึงแก่กรรมในอีกห้าเดือนต่อมาในค.ศ. 1578 ทำให้ไดเมียวผู้มีอำนาจเพียงพอที่จะต้านทานการรุกรานของโนะบุนะงะหมดสิ้นไป โนะบุนะงะจึงสามารถเข้าครอบครองญี่ปุ่นภาคตะวันออกได้ในที่สุด

โนะบุนะงะเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง "กองกำลังทหารอะชิงะรุ" ซึ่งมาจากบรรดาชาวบ้านธรรมดาที่อยากมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองทำสงคราม ให้โอกาสผู้ที่อยากเป็นทหารแต่ไม่มีโอกาสได้เป็น ซึ่งจะแตกต่างจากไดเมียวคนอื่นๆ กองกำลังของโนะบุนะงะจึงเป็นกองทัพที่มาจากชาวบ้านธรรมดา ไม่เหมือนกองกำลังอื่นๆ ของไดเมียวที่มีแต่ซะมุไรจำนวนมาก กองกำลังอะชิงะรุแม้จะมาจากชาวบ้านธรรมดา แต่ทว่าพวกเขามาด้วยใจที่รักบ้านเมือง แตกต่างจากซะมุไรที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง กองกำลังอะชิงะรุนั้นแม้มีศักยภาพทำสงครามไม่แพ้พวกซะมุไร แต่ก็แตกต่างกับซะมุไรผู้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ตั้ง ที่ยอมพลีชีพในสงครามอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ถ้าถูกจับตัวได้จะไม่มีการซัดทอดโดยเด็ดขาด ยอมแม้แต่จะเซ็ปปุกุตัวเองเพื่อไม่ต้องตายโดยน้ำมือผู้อื่น

กองกำลังอะชิงะรุพ่ายแพ้สงครามบ้างเป็นครั้งคราวเพราะความกลัวตาย ทำให้โนะบุนะงะต้องวางแผนทำสงครามใหญ่ ในระหว่างนั้นมีชาวโปรตุเกสเข้ามาติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่น และเผยแผ่ศาสนาคริสต์และปืน อาวุธที่ช่างโปรตุเกสนำมาด้วย หลังจากได้ศึกษาปืนของชาวโปรตุเกสแล้ว โนะบุนะงะมองเห็นว่าอาวุธชนิดนี้สามารถสร้างกองกำลังที่แข็งแกร่งให้แก่ตนได้

ในปี ค.ศ. 1544 โนะบุนะงะก็สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นแกะและสร้างปืนตามแบบฉบับของชาวโปรตุเกส โดยก่อตั้งโรงงานผลิตอาวุธขึ้น สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นผลิตปืนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อไดเมียวทั้งหลาย เห็นศักยภาพอาวุธปืนของโอะดะ ต่างพากันหันมาเปลี่ยนอาวุธจากเดิมคือดาบ ธนู หรือธนูเพลิง มาเป็นอาวุธปืนเช่นเดียวกับโนะบุนะงะแทบทั้งสิ้น เพราะอาวุธปืนนั้นสามารถฝึกฝนการใช้งานได้อย่างง่าย ไม่เหมือนกับดาบหรือธนูที่ต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนอย่างยาวนาน

แม้ศัตรูอย่าง อะชิคะงะ โยะชิอะกิ อดีตโชกุนผู้เป็นหุ่นเชิดของโนะบุนะงะจะถูกกำจัดไปแล้ว แต่โนะบุนะงะกลับยังมีศัตรูจำนวนมากที่เป็นปรปักษ์กับเขา หนึ่งในศัตรูตัวฉกาจของเขาคือพระ นักพรต และนักรบ พระนักรบและนักพรตจำนวนมากต่อต้านและท้าทายอำนาจของโนะบุนะงะ เขาทำสงครามกวาดล้างพระนักรบหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งการรบกันระหว่างพระนักรบและโนะบุนะงะครั้งที่สำคัญที่สุดคือ การบุกเข้าทำลายล้างสำนักสงฆ์ของพระนักรบบนเทือกเขาฮิเออัน ซึ่งเป็นพุทธสถานที่เก่าแก่ มีอายุหลายพันปี

ทำสงครามกวาดล้างสำนักสงฆ์ของกลุมกบฏอิคโค อิคิ โนะบุนะงะสั่งการให้กองกำลังทหารจำนวนมากกว่า 30,000 นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออันก่อนจะตีโอบตะลุยขึ้นไปยังวัดซะกะโมะโตะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ของอิคโค อิคิ และเป็นจุดศูนย์กลางของพระนักรบ และการกวาดล้างพระนักรบในครั้งนี้เองที่โนะบุนะงะได้แสดงความโหดร้ายออกมาอย่างชัดเจน เขาออกคำสั่งให้ฆ่าทุกคนที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาฮิเออันจนหมดสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงหรือเด็กทารก สั่งให้กองกำลังทหารของตน เผาทำลายบ้านเรือนทุกหลังจนวอดวาย และให้กองกำลังทหารของเขาบุกโจมตีพระพุทธสถานแห่งอื่น ๆ ที่มีทีท่าว่าจะก่อการกบฏต่อเขา

จากการทำสงครามกับสำนักสงฆ์ที่โนะบุนะงะได้แสดงความเหี้ยมโหดออกมาอย่างชัดเจน ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของเขากระฉ่อนไปทั่ว ถึงกระนั้นโนะบุนะงะก็ยังคงเป็นขุนพลนักรบที่มีวัสัยทัศน์กว้างไกล เขาไม่ได้ทำลายเมืองซะคะอิ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น นอกจากไม่ทำลายแล้วยังยื่นมือเข้าช่วยเหลือแก่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ประกอบการค้าขายรายใหญ่ ๆ ของเมืองซะคะอิ เขาวางรากฐานของการค้าและเศรษฐกิจอย่างดี โดยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าแม่ค้าในด้านภาษีอากร ควบคุมการชั่ง การตวง และวัดสิ่งของให้ได้ตามระบบมาตรฐานของประเทศ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นในขณะนั้นไม่ได้มีแต่ด้านมืดด้านเดียวอย่างที่ควรจะเป็น โอะดะ โนะบุนะงะอาจจะดูโหดร้าย สร้างศัตรูไว้มากมาย แต่เขาก็ยังสามารถยืนหยัดต่อสู้มาอย่างโชกโชน จวบจนวาระสุดท้ายของเขา ก่อนที่จะจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของอะเกะชิ มิสึฮิเดะ

ในช่วงค.ศ. 1576 - 1580 ระหว่างที่โนะบุนะงะทำการล้อมวัดอิชิยะมะบนเขาฮงอันอยู่นั้น ไดเมียวโมริ เทะรุโมะโตะ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: M?ri Terumoto) แห่งแคว้นอะกิ (ญี่ปุ่น: ?? โรมาจิ: Aki จังหวัดฮิโระชิมะในปัจจุบัน) ซึ่งกำลังเรืองอำนาจอยู่ในภูมิภาคชูโงะกุในขณะนั้น ได้ส่งเสบียงมาช่วยเหลือวัดอิชิยะมะทำให้วัดอิชิยะมะสามารถต้านทานการปิดล้อมของโนะบุนะงะได้ โนะบุนะงะจึงมีแผนการพิชิตตระกูลโมริแห่งชูโงะกุโดยแต่งตั้งให้ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Hashiba Hideyoshi ต่อมาคือโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) เป็นผู้ยกทัพเข้ายึดครองภูมิภาคชูโงะกุในค.ศ. 1576 ระหว่างที่ทำสงครามเพื่อขยายดินแดนอยู่นั้น ในค.ศ. 1582 ฮิเดะโยะชิได้ขอกำลังเสริมจากโนะบุนะงะ โนะบุนะงะจึงมอบหมายให้อะเกะชิ มิสึฮิเดะ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Akechi Mitsuhide) เป็นผู้นำกำลังเสริมไปช่วยเหลือฮิเดะโยะชิ ในฐานะผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของฮิเดะโยะชิ

อะเกะชิ มิซึฮิเดะ เป็นขุนพลระดับสูงของตระกูลโอะดะ ทำสงครามรับใช้โนะบุนะงะมานานมีผลงานมากมาย ใน ค.ศ. 1579 โนะบุนะงะสั่งการให้มิซึฮิเดะนำทัพบุกโจมตีปราสาทยะงะมิของตระกูลฮะตะโนะ (ญี่ปุ่น: ??? โรมาจิ: Hatano) ในเมืองเกียวโต แต่มิซึฮิเดะเลือกใช้วิธีเจรจา เชื่อว่ามิซึฮิเดะส่งมารดาของตนไปเป็นตัวประกัน แต่พวกฮะตะโนะคิดการจะลอบสังหารโนะบุนะงะแล้วแสร้งมาขอสวามิภักดิ์ โนะบุนะงะจึงสั่งประหารชีวิตคนเหล่านั้นทั้งหมด ส่งผลให้มารดาของมิซึฮิเดะต้องโดนสังหารไปด้วย มิซึฮิเดะจึงมีความเจ็บแค้นแล้วจำฝังใจเรื่อยมา

ในค.ศ. 1582 มิซึฮิเดะได้รับมอบหมายให้นำกำลังเสริมไปช่วยเหลือฮิเดะโยะชิในฐานะผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของฮิเดะโยะชิ ซึ่งเป็นการดูถูกมิซึฮิเดะอย่างมากด้วยเหตุที่มิซึฮิเดะมีตำแหน่งและอำนาจไม่ได้เป็นรองจากฮิเดะโยะชิ เวลานั้น มิซึฮิเดะทราบว่าโนะบุนะงะเพิ่งเสร็จสิ้นจากงานเลี้ยงน้ำชาต้อนรับอิเอะยะซึ แล้วเดินทางพร้อมทหารองครักษ์ประจำตัวไม่ถึงร้อยคนไปพำนักอยู่ที่วัดฮนโน (ญี่ปุ่น: ??? โรมาจิ: Honn?-ji) ในเมืองเกียวโต ซึ่งอยู่ในเขตปกครองของโนะบุนะงะเอง ทำให้เขาประมาทและไม่ได้เตรียมตัวว่าจะโดนก่อกบฎหรือลอบโจมตี มิซึฮิเดะแสร้งทำเป็นว่ายกทัพออกไปจากเมืองเกียวโตแต่กลับมาเข้าบุกโจมตีวัดฮนโน ฝ่ายโนะบุนะงะมีกองกำลังเพียงเล็กน้อยไม่สามารถต้านทานได้ ไม่มีใครพบร่างของโนะบุนะงะแต่คาดว่าโนะบุนะงะน่าจะกระทำการเซ็ปปุกุถึงแก่กรรมไปในวัดฮนโนนั่นเอง โอะดะ โนะบุตะดะ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Oda Nobutada) บุตรชายคนโตของโนะบุนะงะถูกปิดล้อมอยู่ในวัดอีกแห่งหนึ่งในเกียวโตเช่นกัน และกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปเช่นเดียวกับบิดา

ฝ่ายฮิเดะโยะชิเมื่อทราบข่าวการลอบสังหารโนะบุนะงะ จึงรีบยุติสงครามในภูมิภาคชูโงะกุทันทีและรีบยกทัพมายังเมืองเกียวโตเพื่อทำการแก้แค้นให้แก่นายของตน ทัพของฮิเดะโยะชิและมิซึฮิเดะปะทะกันในยุทธการยะมะซะกิ (ญี่ปุ่น: ????? โรมาจิ: Yamazaki-no-tatakai) ในค.ศ. 1583 ฮิเดะโยะเป็นฝ่ายชนะและมิซึฮิเดะเสียชีวิตในที่รบ

เมื่อโอะดะ โนะบุนะงะ ถูกลอบสังหารที่วัดฮนโนพร้อมกับบุตรชายคนโตผู้เป็นทายาทสืบทอดตระกูล ทำให้ตระกูลโอะดะขาดทายาท บุตรชายคนที่สองและคนที่สามของโนะบุนะงะคือ โอะดะ โนะบุกะซึ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Oda Nobukatsu) และโอะดะ โนะบุตะกะ (ญี่ปุ่น: ???? โรมาจิ: Oda Nobutaka) ต่างต่อสู้แย่งชิงตำแหน่งผู้นำตระกูลโอะดะ แต่ทว่าอำนาจในการปกครองที่แท้จริงนั้นตกเป็นของฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ จนในค.ศ. 1584 ฮิเดะโยะชิสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของญี่ปุ่นแทนที่ตระกูลโอะดะได้สำเร็จ การปกครองญี่ปุ่นของตระกูลโอะดะเป็นเวลาเกือบ 20 ปีจึงสิ้นสุดลง และถูกลดสถานะลงเป็นเพียงไดเมียวตระกูลหนึ่ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301